วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข่าวด่วนธุรกิจน้ำมันแพง

ผ่าวิกฤติน้ำมันแพงแนะปรับสูตรราคาใหม่
นักวิชาการแนะรัฐบาลเปลี่ยนแปลงสูตรราคาน้ำมันในประเทศใหม่ หลังพบค่าการกลั่นสูงผิดปกติ

ขณะที่รองประธานสภาหอการค้าไทยจี้รัฐกำหนดแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก

หวั่นกระทบต้นทุนผู้ประกอบการ
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในวันนี้ (2 ก.ค.) คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม

วุฒิสภา จัดสัมนาเรื่อง “วิกฤติราคาน้ำมันโลก อุตสาหกรรมการผลิตของไทยจะอยู่รอดอย่างไร
” โดยดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวว่า ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยได้ทยอยปรับขึ้นตามตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อการลดปัญหาทุกส่วน ควรปรับโครงสร้างสูตรราคาน้ำมัน

ในประเทศไทย "ต้องยอมรับว่า ภาษีสรรพสามิตและภาษีต่าง ๆ รวมทั้งกองทุนน้ำมัน
ทั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและ กองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอาจเปลี่ยนแปลง
ได้ยากแต่จะเสนอให้ปรับปรุงค่าการกลั่นซึ่งมองว่า มีแนวทางเป็นไปได้ เพราะเห็นว่า
ค่าการกลั่นในปัจจุบันสูงผิดปกติ เห็นได้จากตัวเลข
สิ้นเดือน มิ.ย. 2551 อยู่ที่ 1.80 บาทต่อลิตร หรือประมาณ 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
สูงกว่าอดีต ซึ่งน่าจะแก้ไขปรับปรุงได้" ดร.พรายพล กล่าว
ด้าน นายธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ อาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กล่าวว่า ควรจะมีการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน โดยเฉพาะโครงสร้างด้านต้นทุนที่แท้จริง
ซึ่งประหอบด้วยค่าการกลั่นและค่าการตลาด เนื่องจากเห็นว่า ไม่สะท้อนกับสภาวะปัจจุบัน
เนื่องจากน้ำมันเบนซิน 95 มีต้นทุนแท้จริง 73% หรือประมาณ 31.80 บาทต่อลิตร
แต่ราคาขายปลีกอยู่ที่ 42.09 -43.79 บาทต่อลิตร
ขณะที่น้ำมันดีเซลมีต้นทุนแท้จริง 90.78% หรือประมาณ 36.89 บาทต่อลิตร

เป็นราคาขายปลีก 42.64 บาทต่อลิตร ซึ่งราคาขายปลีกยังไม่สะท้อนต้นการผลิตที่แท้จริง
สัดส่วนดังกล่าวควรจะปรับปรุงได้ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อน
ส่วนภาษีและกองทุนต่าง ๆ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ จึงเสนอให้แก้ไขด้าน
โครงสร้างราคาน้ำมันของไทยเช่นกัน น.ส.รสนา โตสิตระกูล
ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา กล่าวว่า รัฐบาลควรเข้าไปปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมัน
โดยเฉพาะค่าการกลั่นซึ่งมองว่า ยังไม่เป็นธรรม
เพราะที่ผ่านมา ไทยจะอิงราคาน้ำมันตลาดสิงคโปร์เมื่อมีการนำเข้า
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศถึง 7 แห่ง เป็นของ

ปตท. 5 แห่ง อีก 2 แห่ง เป็นของผู้ค้าน้ำมันรายอื่น
และสามารถกลั่นน้ำมันได้ถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยใช้ในประเทศ 700,000 บาร์เรล
ส่งออก 300,000 บาร์เรลต่อวัน จึงเห็นว่าการอิงราคาตลาดสิงคโปร์ยังไม่เป็นธรรม
และโรงกลั่นน่าจะลดค่าการกลั่นลงได้ 1 บาทต่อลิตร
สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการและส่วนต่าง ๆ ได้
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยกับการปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี

เนื่องจากสามารถผลิตได้จากอ่าวไทย และค่าสัมปทานถูกมาก หลังจากต่อสัญญา
สัมปทานให้เชฟรอนในระยะ 10 ปี ในราคาเพียง 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ทำไมจึงจำหน่ายราคาแอลพีจีให้คนไทยเพื่ออิงราคาตลาดโลก จึงมองว่า
มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะ ปตท.มักจะอ้างว่า มีรายได้หลักจากธุรกิจก๊าซเพื่อ
ไปหักกลบลบหนี้กับธุรกิจน้ำมันที่ขาดทุน จากการชดเชยน้ำมันให้ส่วนต่าง ๆ
นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า

รัฐบาลต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า จะหาทางเลือกเกี่ยวกับพลังงานทดแทนอย่างไร
เพราะ 1-2 วันที่ผ่านมา สหรัฐได้ตัดสินใจสร้างโรงฟ้าฟ้านิวเคลียร์ 26 โรง
เพราะเป็นพลังงานที่ต้นทุนถูกมาก แต่ในส่วนของประเทศไทยยังเถียงกันไม่จบ
เพราะหากตัดสินใจวันนี้ อีก10 ปี
จึงจะเริ่มได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้นควรเร่งพิจารณาเรื่อง เพราะจะส่งผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการและ
การผลิตภาคต่าง ๆ เพื่อให้ต้นทุนถูกลง


ไม่มีความคิดเห็น: