วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบ้านเรียนวันที่11มิถุนายน

.สรุป basic’s datacommunication

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ

โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

พื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1. ตัวส่งข้อมูล

2. ช่องทางการส่งสัญญาณ

3. ตัวรับข้อมูล

4. การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย

มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย

คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model)

ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่าย

จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น

1.Application Layer = มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง

2.Presentation Layer = มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน

3.Session Layer = มีหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โดยจะกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่ง

4.Transport Layer = มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันขอ้มูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้นไปถึงปลายทางจริงๆ

5.Network Layer = มีหน้าที่กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง

6.DataLink Layer = มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจสอบ คอยควบคุมความผิดำพลาดในข้อมูล

7. Physical Layer = มีหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์

รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูล

1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex

2. แบบกิ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)

3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )แบบมีสายเช่น สายโทรศัพท์

เคเบิลใยแก้วนำแสงสายโคแอคเชียล (Coaxial)สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดินใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสงข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือ

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก

2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ

3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น

4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบาแบบไม่มีสายเช่น ไม่โครเวฟ และดาวเทียมไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณไม่โครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ-ส่งคือจานสัญญาณไม่โครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่ห่างกันประมาณ 25-30 ไมล์

ข้อดี ของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ ก็คือ

สามารถส่งสัญญาณด้วยความถื่กว้างและการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนสัญญาณไม่ดี หรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้

การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณ๊ที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น

อยู่ในเขตป่าเขาดาวเทียม (Setellite)มีลักษณะการส่งสัญญา คล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่

ดาวเทียมจะมีสถานีรับส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศจึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก

ข้อดี ของการสื่อสารผ่านดาวเทียมคือ ส่งข้อมูลได้มาก และมีความผิดพลาดน้อยส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้า

เพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

***************************************************************



.Basic’s IP AddressIP Address

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IP Address ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย

พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส คำว่าไอพีแอดเดรส

จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้

ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก

ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

11101001

11000110

00000010

01110100

แต่เมื่อต้องการเรียกไอพีแอดเดรสจะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวก

จึงแปลงเลขไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ ( 8 บิต ) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น

11001011

10010111

00101110

00010011

203 .

151 .

46 .

19

เมื่อตัวเลขไอพีแอดเดรสจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับกำหนดให้กับเครื่อง และอินเทอร์เน็ตเติบโตรวดเร็วมาก เป็นผลทำให้ไอพีแอดเดรสเริ่มหายากขึ้น

การกำหนดไอพีแอดเดรสเน้นให้องค์กรจดทะเบียนเพื่อขอไอพีแอดเดรสและมีการแบ่งไอพีแอดเดรส ออกเป็นกลุ่มสำหรับองค์กร

เรียกว่า คลาส โดยแบ่งเป็น คลาส A คลาส B คลาส C

คลาส A กำหนดตัวเลขในฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนด

ดังนั้นจึงมีไอพีแอดเดรสในองค์กรเท่ากับ 256 x 256 x 256

คลาส B กำหนดตัวเลขให้ สองฟิลด์ ที่เหลืออีกสองฟิลด์ให้องค์กรเป็นผู้กำหนดดังนั้นองค์กรจึงมีไอพีแอดเดรส

ที่กำหนดได้ถึง 256 x 256 = 65536 แอดเดรส

คลาส C กำหนดตัวเลขให้สามฟิลด์ที่เหลือให้องค์กรกำหนดได้เพียงฟิลด์เดียว คือมีไอพีแอดเดรส 256เมื่อพิจารณาตัวเลขไอพีแอดเดรส

หากไอพีแอดเดรสใดมีตัวเลขขึ้นต้น 1-126 ก็จะเป็นคลาส A

ดังนั้นคลาส A จึงมีได้เพียง 126 องค์กรเท่านั้น หากขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B

เช่น ไอพีแอดเดรสของกรมราชทัณฑ์ขึ้นต้นด้วย 158 จึงอยู่ในคลาส B และหากขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C

ลักษณะการใช้ไอพีแอดเดรสในองค์กรจึงมีวิธีการจัดสรรและกำหนดเพื่อให้ใช้งาน แต่เนื่องจากหลายหน่วยงานติดขัดด้วยจำนวนหมายเลขที่ได้รับ

เช่นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ได้รับคลาส C จึงย่อมสร้างความยุ่งยากในการสร้างเครือข่าย

สำหรับกรมราชทัณฑ์ที่มีไอพีคลาสซี จึงได้แบ่งและจัดสรรไอพีแอดเดรสให้กับหน่วยงานต่างๆได้อย่างพอเพียงไอพีแอดเดรสแต่ละกลุ่มที่ได้รับการจัดสรร

จะได้รับการควบคุทำนองเดียวกัน หน่วยงานย่อยรับแอดเดรสไปเป็นกลุ่มก็สามารถนำไอพีแอดเดรส

ที่ได้รับไปจัดสรรแบ่งกลุ่มด้วยอุปกรณ์เราเตอร์หรือ สวิตชิ่งได้ การกำหนดแอดเดรสจะต้องอยู่ภายในกลุ่มของตนเท่านั้น

มิฉะนั้นอุปกรณ์เราเตอร์จะไม่ สามารถทำงานรับส่งข้อมูลได้

มการกำหนดเส้นทางโดยอุปกรณ์จำพวก เราเตอร์ และสวิตชิ่ง

ไอพีแอดเดรสจึงเป็นรหัสหลักที่จำเป็นในการสร้างเครือข่าย เครือข่ายทุกเครือข่ายจะต้องมีการกำหนดแอดเดรส

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ได้จัดสรรกลุ่มไอพีไว้ให้หน่วยงานต่างๆอย่างพอเพียงโดยที่แอดเดรสทุกแอดเดรสที่ใช้ใน กลุ่ม

เช่น การเซตให้กับพีซีแต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน รหัสไอพีแอดเดรสจึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งที่มีค่าสำหรับองค์กร

หากองค์กร เรามีไอพีแอดเดรสไม่พอ หรือขาดแคลนไอพีแอดเดรสจะทำอย่างไร เช่นมหาวิทยาลัย ก. เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แต่ได้คลาส C ซึ่งมีเพียง 256 แอดเดรสแต่มีผู้ที่จะใช้ไอพีแอดเดรสเป็นจำนวนมากสิ่งที่จะต้องทำคือ มหาวิทยาลัย ก. ยอมให้ภายนอกมองเห็นไอพีแอดเดรสจริงตามคลาส C

นั้น ส่วนภายในมีการกำหนดไอพีแอดเดรสเอง

โดยที่ไอพีแอดเดรสที่กำหนดจะต้องไม่ปล่อยออกภายนอก เพราะจะซ้ำผู้อื่นผู้ดูแลเครือข่ายต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่อง

เป็นตัวแปลงระหว่างแอดเดรสท้องถิ่น กับแอดเดรสจริงที่จะติดต่อภายนอก วิธีการนี้เรียกว่า

NAT = Network Address Translatorซึ่งแน่นอนก็ต้องสร้างความยุ่งยากเพิ่มเติม

และทุกแพกเก็ต IP จะมีการแปลงแอดเดรสทุกครั้ง ทั้งขาเข้าและขาออก จึงทำให้ประสิทธิภาพการติดต่อย่อมลดลง

ซึ่งแตกต่างกับการใช้ไอพีแอดเดรสจริง

รูปแบบของไอพีแอดเดรส

- มีขนาด 32 บิต

- ประกอบด้วยเลข 2 ส่วน

- เลขเครือข่าย (network number)

- เลขโฮสต์ (host number)

- รูปแบบการเขียน “dotted decimal”

- แบ่งเป็น 4 ไบต์

- คั่นแต่ละไบต์ด้วยจุด (dot)ความสำคัญของเลขเครือข่ายและโฮสต์

- เราเตอร์ (Router)

- ใช้เลขเครือข่ายเลือกเส้นทางส่ง packet

- โฮสต์ที่มี netid ชุดเดียวกัน

- จะอยู่เครือข่ายเดียวกัน

- สื่อสารกันได้โดยใช้เฟรม data-link

- ไม่ต้องใช้เราเตอร์

- โฮสต์ที่มี netid ต่างกัน

- จะอยู่ต่างเครือข่าย

- เราเตอร์จะส่ง packet ข้ามเครือข่าย

การจัดคลาสเครือข่าย

Class A 0 network host host host

Class B 10 network network host host

Class C 110 network network network host

Class A = 0 – 126

Class B = 128 – 191

Class C = 192 -223

Class D = 224 – 239 Class

E = 240 – 255127 เป็น IP แบบพิเศษ

การหาจำนวน netid และ hostid

- ใช้สูตร 2n- n = จำนวนบิต

- network และ host ที่สงวนไว้- network ที่มีบิตเป็น “0” และ “1” ทั้งหม

- host ที่มีบิตเป็น “0” และ “1” ทั้งหมดClass A

จำนวน network = 7 บิต

- จำนวนเครือข่ายทั้งหมด = 27 = 128 เครือข่าย

- จำนวนเครือข่ายที่ใช้งานได้ = 27-2 = 128 – 2

= 126 เครือข่าย

- จำนวนโฮสต์ในแต่ละเครือข่าย= 24 บิต

- จำนวนโฮสต์ทั้งหมด = 224 = 16,777,216 โฮสต์

- จำนวนโฮสต์ที่ใช้งานได้ = 224-2 = 16,777,216 – 2

= 16,777,214 โฮสต์

Class B

- จำนวน network = 14 บิต

- จำนวนเครือข่ายทั้งหมด = 214 = 16,384 เครือข่าย

- จำนวนเครือข่ายที่ใช้งานได้ = 214-2 = 16,384 – 2

= 16,382 เครือข่าย

- จำนวนโฮสต์ในแต่ละเครือข่าย= 16 บิต

- จำนวนโฮสต์ทั้งหมด = 216 = 65,536 โฮสต์

- จำนวนโฮสต์ที่ใช้งานได้ = 224-2 = 65,536 – 2

= 65,534 โฮสต์

Class C

- จำนวน network = 21 บิต

- จำนวนเครือข่ายทั้งหมด = 221 = 2,097,152 เครือข่าย

- จำนวนเครือข่ายที่ใช้งานได้ = 221-2 = 2,097,152 – 2

= 2,097,150 เครือข่าย

- จำนวนโฮสต์ในแต่ละเครือข่าย= 8 บิต- จำนวนโฮสต์ทั้งหมด = 28 = 256 โฮสต์

- จำนวนโฮสต์ที่ใช้งานได้ = 28-2 = 256 – 2

= 254 โฮสต์

Default subnet mask

Class Netmask Binary netmask ขนาด

A 255.0.0.0 11111111.00000000.00000000.00000000 8 บิต

B 255.255.0.0 11111111.11111111.00000000.00000000 16 บิต

C 255.255.255.0 11111111.11111111.11111111.00000000 24 บิต

ตัวอย่าง

- IP address 64.7.1.50 จะมี default netmask 255.0.0.0

- IP address 158.200.100.45 จะมี default netmask 255.255.0.0

- IP address 192.168.1.1 จะมี default netmask 255.255.255.0

ประเภทของ Subnet Mask

- Fixed Length Subnet Mask

- ใช้ค่า subnet mask เดียวกันตลอดทั้งเครือข่าย

- แต่ละ subnet จะมีจำนวนโฮสต์เท่าๆ กัน

- Variable Length Subnet Mask

- ใช้ค่า subnet mask ต่างกันในแต่เครือข่าย

- แต่ละ subnet จะมีจำนวนโฮสต์ไม่เท่ากันการแบ่งเครือข่ายย่อย (subnet mask)

- เป็นเลขขนาด 32 บิต

- บิตที่ตรงเลขเครือข่าย (netid) มีค่าเท่ากับ “1”

- บิตที่ตรงเลขโฮสต์ (hostid) มีค่าเท่ากับ “0”การเลือกเส้นทางใน subnet mask

- ตรวจสอบว่าเป็น IP ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือไม่

- ใช้เทคนิคการ “AND” บิต ระหว่าง IP กับ subnet mask

- ถ้า subnet address มีค่าเท่ากัน

- อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน

- ส่ง packet โดยใช้ ethernet adddress

- ถ้า subnet address มีค่าต่างกัน

- อยู่ต่างเครือข่าย

- ส่ง packet ไปให้ router เพื่อส่งข้อมูลต่อไป
**********************************************************



แปลง IP
-209.123.226.168
=11010001.01110001.11100001.10101000


-198.60.70.81
=11000110.00111000.01000110.01010001

*******************************************************



CIDR
-บอกหมายเลข Subnet Mask
-บอกจำนวน Host
CIDR ที่ให้คือ
/22
11111111.11111111.11111100.00000000
= (255+255+252+0)
Subnet Mask = (255.255.252.0)
Host 2^10 = 1024 – 2 = 1022


*******************************************************

/18
11111111.11111111.11000000.00000000
= (255+255+192+0)
Subnet Mask =( 255.255.192.0)
Host = 2^14 = 16384 – 2 = 16382


*******************************************************

/27
11111111.11111111.11111111.11100000
= (255.255.255.224)
Subnet Mask = (255.255.255.224)
Host = 2^5 = 32- 2 = 30
*********************************************************

ออกข้อสอบเรื่อง IP 5ข้อ
1.ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันส่วนใหญ่มีกี่บิต
ก.ขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์
ข.ขนาด 4บิต
ค.8บิต
ง.16บิต
2.รูปแบบของไอพีแอดเดรส
ก.มีขนาดช่องทางที่ใหญ่
ข. มีขนาด 32 บิต, ประกอบด้วยเลข 2 ส่วน
ค. มีตำเลขจำนวนมาก
ง.มี16บิต
3.ข้อใดคือเส้นทางใน subnet mask
ก.ส่ง packet โดยใช้ ethernet address
ข. อยู่ในเครือข่ายเดียวกันค.ถ้า subnet address มีค่าเท่ากัน
ง.ไม่มีข้อถูก
4.ข้อใดเป็นการแบ่งเครือข่ายย่อย (subnet mask๗
ก. เป็นเลขขนาด 32 บิต
ข.บิตที่ตรงเลขเครือข่าย (netid) มีค่าเท่ากับ “1”

ค. บิตที่ตรงเลขโฮสต์ (hostid) มีค่าเท่ากับ “0”
ง.ถูกทุกข้อ

5.ข้อใดคือความสำคัญของเลขเครือข่ายและโฮสต์
ก. สื่อสารกันได้โดยใช้เฟรม data-link
ข.รวดเร็ว
ค.มีช่องทางกว้าง
ง.มีจำนวนบิตมาก
เฉลย 1.ก 2.ข 3.ง 4.ง 5.ก

***************************************************** ******

ออกข้อสอบเรื่อง CIDR 5 ข้อ
1.ข้อใดคือส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. ตัวส่งข้อมูล
ข. ช่องทางการส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับข้อมูล
ง.ถูกทุกข้อ
2.มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือข้อใด
ก. มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model)

ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานใน
ข.ข้อมูลต่างๆ
ค.คอมพิวเตอร์
ง.ไม่มีข้อถูก
3.รูปแบบของการส่งสัญญาข้อมูลมีกี่รูปแบบ
ก.2.รูปแบบ
ข.3.รูปแบบ
ค4.รูปแบบ
ง.5.รูปแบบ
4.ข้อดีของใยแก้วนำแสดงคือข้อใด

ก. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
ข. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ8
ค. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
ง.ถูกทุกข้อ
5.ข้อดี ของการสื่อสารผ่านดาวเทียมคือ

ก.ส่งข้อมูลได้มาก และมีความผิดพลาดน้อย
ข. อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม
ค.ถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
ง.ไม่มีข้อถูก
เฉลย 1 ง. 2 ก. 3 ข. 4 ก. 5 ก.
***************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น: